ปัจจุบันการออกแบบระบบเครือข่ายต้องสามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เมื่อเราทราบความต้องการของผู้ใช้แล้ว วิศวกร (Network Engineer) ต้องเปลี่ยนความต้องการของผู้ใช้หรือลูกค้า มาเป็นความต้องการของทรัพยากรเครือข่าย (network requirement) ซึ่งจะนําไปสู่การออกแบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการรองรับการเพิ่มขยายในอนาคต การออกแบบระบบเครือข่ายนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ดังนี้
1. Scalability
Network ที่ออกแบบขึ้นมาสามารถรองรับการขยายตัวหรือเติบโตได้มากน้อยเพียงใด องค์กรขนาดใหญ่กำลังเพิ่มปริมาณผู้ใช้ที่ต้องใช้งานระบบเน็ตเวิร์ก แอปพลิเคซันบนเน็ตเวิร์กที่กำลังเพิ่มขึ้น ไซต์สาขา ที่เพิ่มเติม และเน็ตเวิร์กคอนเน็กชันที่เชื่อมต่อไปยังภายนอกที่ขยายตัวขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการออกแบบให้มี Scalability
2. Performance
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงาน (performance) ของ Network โดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ เน็ตเวิร์กที่มีอยู่ การวิเคราะห์เน็ตเวิร์กที่มีอยู่จะช่วยให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายด้าน performance เป้าหมายด้าน performance กับเป้าหมายด้าน scalability มักมีความเกี่ยวข้องกัน เราควรเข้าใจแผนการเติบโตของ Network ก่อนที่จะวิเคราะห์เป้าหมายด้าน performance
3. Availability
ปริมาณของเวลาที่ Network พร้อมรองรับการใช้งานของผู้ใช้และบ่อยครั้ง ถือได้ว่า Availability เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการออกแบบ Network ให้กับผู้ใช้ ในปัจจุบัน ลูกค้าหรือผู้คนทั่วไปมักมองว่า Availability มีความหมายมากกว่านั้น Availability อาจใช้สื่อความหมายถึง เวลามากเท่าใดที่เน็ตเวิร์กปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง Availability มักถูกนำไปเชื่อมโยงกับคำว่า Redundancy หรือ Fault Tolerance แต่ Redundancy ไม่ใช่เป้าหมายของการออกเเบบ Network โดยตรง Redundancy เป็นโซลูชั่นหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ Availability, Redundancy หมายถึง การเพิ่มลิงก์ (link) สำรอง หรืออุปกรณ์เน็ตเวิร์กสำรองเข้าไปในเน็ตเวิร์กเพื่อหลีกเลี่ยงเวลาสูญเสีย (downtime) ด้วยการมีลิงก์หรืออุปกรณ์ที่สามารถทำงานทดแทนได้
4. Security
ความสามารถของระบบเครือข่ายในการปกป้องทรัพยากรต่าง ๆ ภายในไว้ให้ผู้ใช้ได้รับเฉพาะข้อมูลหรือใช้งานทรัพยากรได้ตามที่ตนมีสิทธิเท่านั้น Security นี้เป็นประเด็นที่กินความหมายได้กว้างมาก กว่างกว่าประเด็นด้านเทคนิคอื่นๆ เพราะเกี่ยวพันกันตั้งแต่อุปกรณ์เน็ตเวิร์กในระดับล่าง ไปจนถึงระดับของระบบปฏิบัติการ และระดับแอปพลิเคชัน อีกทั้งยังขยายความรวมไปถึงขอบเขตของการปกป้องความปลอดภัยด้วย ทั้งในอินทราเน็ต (Intranet) , อินเทอร์เน็ต (Internet) หรือเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)
5.Affordability
เป้าหมายนี้บางครั้งถูกเรียกว่า Cost-effectiveness จุดประสงค์หลักของเป้าหมายนี้ก็คือ การออกแบบระบบเครือข่ายที่ดีต้องเปรียบเทียบความคุ้มของการลงทุนในอุปกรณ์เครือข่ายโดยเปรียบเทียบต่อ ทรูพุต(Throughput) แต่ผู้ใช้แต่ละคน เช่น เครือข่ายหนึ่งมีค่าใช้จ่าย 2,000 บาทต่อเดือนได้อินเทอร์เน็ต 1000/1000 Gbps ในขณะที่ระบบเครือข่ายที่สองมีค่าใช้จ่ายเพียง 1,000 บาทต่อเดือนได้อินเทอร์เน็ต 1000/1000 Gbps ซึ่งแสดงว่าค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับของเครือข่ายที่หนึ่งจะสูงกว่าเครือข่ายที่สองถึง 2 เท่า แสดงว่าการออกแบบเครือข่ายที่สองดีกว่าเครือข่ายแรกเมื่อเปรียบเทียบที่ throughput เท่ากัน เป็นต้น
6. Manageability
การออกแบบระบบเครือข่ายต้องสามารถบริหารจัดการได้อย่างไม่ยุ่งยากและสิ้นเปลืองงบประมาณการบริหารจัดการไม่มากนัก สะดวกต่อการดูแลและบำรุงรักษาโดยเจ้าหน้าที่เทคนิค รวมทั้งการใช้ซอฟต์แวร์ในการช่วยบริหารจัดการระบบเครือข่าย (Network management software) ทำให้งานการดูแลระบบสะดวกและเป็นไปอย่างอัตโนมัติหรือใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคเท่าที่จําเป็น ดังนั้น การลงทุนในระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะต้องดูว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเครือข่ายได้มากน้อยเพียงใด
แหล่งที่มาของบทความ :